Computer Art

Posted In: Artistic Movement

คอมพิวเตอร์ อาร์ต
Computer Art

comart

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1950-ปลาย 1960

ศิลปินชาวตะวันตกมักจะตอบรับกับเครื่องมือใหม่และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเสมอ (เมื่อพิจารณาถึงการที่สีน้ำมันเข้ามาแทนที่สีฝุ่นทำจากไข่ (egg tempera) อย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เนเธอร์แลนด์และความตื่นตัวใน วีดีโอ อาร์ต (Video Art))

นิทรรศการแรกของ คอมพิวเตอร์ อาร์ต เมื่อปี 1965 ที่แกลเลอรี โฮวาร์ด ไวส์ (The Howard Wise Gallery) ที่นิวยอร์ค และ The Technische Hochschule ที่เมืองสตุ๊ดการ์ดในเยอรมนีตะวันตก เป็นงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์มากกว่าจะเป็นศิลปิน ส่วนนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ครั้งแรกคือ Cybernatic Serendipity: The Computer and the Arts จัดโดย แจสิก้า ไรฮาร์ดท์ (Jasica Reichardt) สำหรับสถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งลอนดอน (London Institute of Contemporary Arts) ในปี 1968

ผลงานทั้งแบบสองและสามมิติมักจะมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ทำโดยมีศิลปินร่วมด้วย ซึ่งต่อมาทำให้เกิดสถาบันใหม่ๆเช่น มิทส์ เซ็นเตอร์ ฟอร์ แอ็ดวานซ์ด์ วิชวล สตัดดี้ส์ (Mit?s Center for Advanced Visual Studies) เป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวของศิลปะและเทคโนโลยี

การที่ศิลปินเข้าใช้ดิจิตัล เทคโนโลยี เป็นการสะท้อนอิสรภาพที่ คอนเซ็ปชวล อาร์ต ได้ริเริ่มทำเอาไว้ ศิลปินที่บุกเบิกศิลปะแนวนี้ส่วนใหญ่มาจากคริสต์ทศวรรษ 1970 ตัวอย่างเช่น ฮาโรวด์ โคเฮ็น (Harold Cohen) ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องวาดเส้น เจมส์ ซีไรธ์ (James Seawright) ทำประติมากรรมในสวนซึ่งมีส่วนที่เคลื่อนไหวได้โดยคนดู พอล เอิร์ลส์ (Paul Earls) และ อ็อตโต เพียน (Otto Piene) ทำงานกลางแจ้งชื่อ Sky Operas ผลงานทำจากวัสดุไวนีลแบบเป่าพองลมได้และผสมกับดนตรีอิเล็คโทรนิค

ในราวคริสต์ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการใช้ระบบวาดภาพแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive, อินเตอร์แอคทีฟ) ระบบเวลาจริงแบบสดๆ (real-time painting programs) ที่สามารถเลียนแบบการระบายสีแบบจริงๆได้ด้วยซอฟท์แวร์แบบอิมเมจเจส วัน (Images I)
เพ้นท์บ๊อกซ์ (Paintbox) อีเซล (Easel) โฟโต้ช็อพ (Photoshop) ซึ่งออกแบบสำหรับนักวาดภาพประกอบและฝ่ายศิลป์ต่างๆ โปรแกรมง่ายๆเหล่านั้นถูกศิลปินดังๆหลายคนนำไปใช้ เช่น เจนนิเฟอร์ บาร์ทเล็ท (Jennifer Bartlett) คีธ ฮาริง (Keith Haring) เดวิด ฮอคนีย์ (David Hockney) เลส เลอวีน (Les Levine) และ เค็นเน็ท โนแลนด์ (Kenneth Noland) ซอฟท์แวร์เหล่านั้นโดยมากถูกใช้ในฐานะเครื่องมือสำหรับสร้างงานในแนวเดิมๆ แต่ก็ถือว่าเป็นตัวที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ อาร์ต ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ

ศิลปินโดยมากที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลมองตัวเองว่าเป็นศิลปินมากกว่าจะเป็นคนทำคอมพิวเตอร์ดิจิตัลหรืออิเล็คโทรนิค ตัวอย่างเช่น ทัทซูโอะ มิยาจิมา (Tatsuo Miyajima) ทำรถเล็กติดตัวเลขเวลาที่กำลังเปลี่ยนตัวเลขไปเรื่อยวิ่งไปมาในห้องมืด บิล วิโอลา (Bill Viola) ทำ
The Tree of Knowledge (1997) เป็นอินเตอร์แอ็คทีฟ วีดีโอ อินสตอลเลชัน (interactive video installation)

ศิลปิน: เกร็ทเช็น เบ็นเดอร์ (Gretchen Bender), แนนซี เบอร์สัน (Nancy Burson), จิม แคมพ์เบล (Jim Campbell), ฮาโรวด์ โคเฮ็น (Harold Cohen), ปีเตอร์ ดิ อากอสติโน (Peter D?Agostino), ชาร์ เดวีส์ (Char Davies), พอล เอิร์ลส์ (Paul Earls), เอ็ด เอ็มช์วิลเลอร์ (Ed Emshwiller), เค็น เฟนโกลด์ (Ken Feingold), ลินน์ เฮอร์แมน (Lynn Herman), เพอร์รี่ โฮเบอร์แมน (Perry Hoberman), เจนนี่ โฮลเซอร์ (Jenny Holzer), มิลตัน โคมิลซาร์ (Milton Komisar), เบอร์นาร์ด แคร็คเก (Bernard Kracke), จอร์จ เลอกราดี (George Legrady), ทัทซูโอะ มิยาจิมา (Tatsuo Miyajima), นัม จุง ไพค์ (Nam June Paik), ออตโต้ เพียน (Otto Piene), ซอนยา ราโพพอร์ต (Sonya Rapoport), อลัน ราธ (Alan Rath), จิล สก็อต (Jill Scott), เจมส์ ซีไรธ์ (James Seawright), อีริค สตอลเลอร์ (Eric Staller), เวน-ยิง ไซ (Wen-Ying Tsai), สแตน แวนเดอร์บีค (Stan Vanderbeek), เท็ด วิคตอเรีย (Ted Victoria)

Color-Field Painting
Conceptual Art