Online Art

Posted In: Artistic Movement

ออนไลน์ อาร์ต
Online Art

website

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990-

ออนไลน์ อาร์ต (Online Art) ได้รับการออกแบบให้อยู่ในอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าไปดูโดยผ่านสายโทรศัพท์จากโมเด็ม-อีควิพด์ คอมพิวเตอร์ (modem-equipped computer) แม้ว่าจะมีศิลปินมากมายที่มีผลงานในอินเตอร์เน็ต เช่น ภาพถ่ายที่จัดแสดงใน เวอร์ชู แกลเลอรี (virtual gallery) ใน WWW (World Wide Web) ก็ยังคงเป็นภาพถ่ายมากกว่าจะเป็นงานศิลปะแบบ ออนไลน์

หลายคนจะสับสนระหว่าง WWW กับ อินเตอร์เน็ต (internet) WWW เป็นส่วนประกอบของอินเตอร์เน็ต WWW เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีระบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ทำให้เชื่อมโยงไปสู่อีกด้านของเว็บ คนดูคลิกเข้าไปในเว็บก็จะสามารถเข้าไปสู่การได้รับฟังเสียง ดูภาพ หรืออ่านข้อความต่างๆในอินเตอร์เน็ทได้

ออนไลน์ อาร์ต อาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในเว็บเท่านั้น แต่อาจจะมาในรูปของอีเมล์หรือนิวส์กรุ๊ปส์ (newsgroups) แบบการประชุมสัมมนา (bulletin-board) จากประวัติศาสตร์ มีเดีย อาร์ต (Media Art) คือ แนวศิลปะที่เคยทำมาก่อน ออนไลน์ อาร์ต ซึ่งนำเอาสื่อสารมวลชนอย่างโทรทัศน์มาเป็นทั้งเครื่องมือ (medium) และ “เนื้อหา” (content)

ศิลปินแบบ มีเดีย อาร์ต หลายคนที่เป็นคนบุกเบิก ออนไลน์ อาร์ต เช่น ปีเตอร์ ดิ อากอสติโน (Peter D?Agostino), ดักลาส เดวิส (Douglas Davis) และ อันโตนิโอ มุนตาแดส (Antonio Muntadas) ได้โอกาสขยายสิ่งที่เขาสนใจมานาน (ทฤษฎีสื่อสารมวลชน) การแบ่งแยกระหว่าง มีเดีย อาร์ต กับ ออนไลน์ อาร์ต จะมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ คนดูสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างที่ไม่เคยมีมา มีเดีย อาร์ต ก็เคยทำแต่จะอยู่ในรูปของการทำสำรวจหรืองานคอมพิวเตอร์ที่มีการโต้ตอบกับคนดู

ลอว์รีย์ แอนเดอร์สัน (Laurie Anderson) ทำเสียงและภาพที่ให้ความบันเทิงใจในรูปของซีดีรอม (CD-Rom) บ้างก็ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเก็บข้อมูลในระบบดิจิตอล ด้วยการสร้างฐานข้อมูล เช่น มุนตาแดส สร้าง “File Room” เป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ทางวัฒนธรรมสร้างเป็นพื้นที่ให้คนดูเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการเซ็นเซอร์ทางวัฒนธรรมและสังคม ตั้งแต่ยุค คลาสสิค ของกรีก และให้คนที่เข้ามาดูช่วยกันให้ข้อมูลจากประสบการณ์ของตัวเองด้วย

คาติ ลาพอร์เต้ (Cati Laporte) ทำ Living Almanac of Disasters เป็นปฏิทินที่แยกย่อยเป็นเหตุการณ์หายนะทั้งทางธรรมชาติและที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ซูซาน ฟาร์เรลล์ (Susan Farrell) ทำ Art Crime เป็นฐานข้อมูลของ กราฟฟิตี้ อาร์ต (Graffiti Art) จากที่ต่างๆ จากช่างภาพต่างๆทั่วโลก เป็นงานที่ interactive ในรูปของชุมชนที่มีรูปแบบอย่างเว็บบอร์ด มีการพูดคุย (chat) และให้ข้อมูล

งานเหล่านี้ทำให้ระลึกถึงหรือเป็นภาคขยายของ คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) ที่สนใจในอัตลักษณ์ของศิลปะ ตัวอย่างเช่น ฟาร์เรลล์ ไม่พยายามจะแสดงตนว่าเว็บไซด์ที่เธอทำนั้นเป็นศิลปะ เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ของวัฒนธรรม “ออนไลน์” อื่นๆ

ศิลปิน: ลอว์รีย์ แอนเดอสัน (Laurie Anderson), เดวิด แบลร์ (David Blair), ฮีท บันติง (Heath Bunting), ชู ลี แชง (Shu Lea Chang), มาร์กาเร็ท เครนและจอน ไวเน็ท (Margaret Crane and Jon Winet), ปีเตอร์ ดิ อากอสติโน่ (Peter D?Agostino), โลเวล ดาร์ลิง (Lowell Darling), ดักลาส เดวิส (Douglas Davis), เจฟฟ์ เกทส์ (Jeff Gates), เอ็ดดัวโด แคค (Eduardo Kac), คาติ ลาพอร์เต้ (Cati Laporte), อันโตนิโอ มุนตาแดส (Antonio Muntadas), โจเซ็พ เนชวาทาล (Joseph Nechvatal), จูเลีย เชอร์ (Julia Scher), จอห์น ไซมอน (John Simon), นีนา โซเบลและเอมิลี ฮาร์ทเซลล์ (Nina Sobell and Emily Hartzell), สเตอแลค (Stelarc), อีวา โวห์ลเกมูธและเคธี เร ฮัฟฟ์แมน (Eva Wohlgemuth and Kathy Rae Huffman), เอเดรียน วอร์ทเซล (Adrianne Wortzel)

Neo-Expressionism
Op Art