Appropriation

Posted In: Artistic Movement

แอ็บโพรพริเอชัน
Appropriation

appropriation

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980

คำว่า “to appropriate” คือ “การยืม” แอ็บโพรพริเอชัน (Appropriation) คือการสร้างงานใหม่โดยนำเอา “ภาพ” หรือ “ภาพลักษณ์” ที่มีมาก่อนอยู่แล้วจากบริบทอื่นๆ เช่น จากประวัติศาสตร์ศิลป์ โฆษณา และสื่อต่างๆ แล้วทำการผสม “ภาพยืม” (appropriated image) กับของใหม่ หรืองานศิลปะที่มีชื่อเสียงของใครสักคน อาจถูกนำมานำเสนอเป็นของ “นักยืม” การหยิบยืมแบบนี้สามารถเทียบได้กับการนำเอา ฟาวนด์ อ็อบเจ็ค (Found Object) ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วมาใช้ในงานศิลปะ แต่แทนที่จะจัดการกับของที่มีอยู่แล้วเหล่านั้นให้กลายเป็นงานติดปะ (collage) กลายเป็นงานชิ้นใหม่ พวกนักยืม (appropriator, postmodern appropriator) จัดการนำมาวาดใหม่ เขียนใหม่ หรือถ่ายภาพซ้ำ

การกระทำที่ล่อแหลมกระตุ้นให้ขัดแย้งแบบนี้เป็นการเยาะเย้ยพวก สมัยใหม่ (Modern) ที่ให้ความเคารพยำเกรงต่อความเป็นต้นฉบับ ความเป็นต้นแบบ (originality) ในขณะที่ศิลปิน สมัยใหม่ มักจะให้ความเคารพต่อผู้นำในประวัติศาสตร์ศิลปะ เช่น มาเนต์ (Manet) หยิบยืมการจัดองค์ประกอบของภาพที่โด่งดังจาก ราฟาเอล (Raphael) หรือ ปิกาสโซ (Picasso) และ วาลาซเควซ (Velazquez) พวกศิลปินสมัยใหม่เหล่านั้นแทบจะไม่ได้เน้นสิ่งที่ยืมมาเป็นจุดสำคัญของผลงานเลย

ความเปลี่ยนแปลงริ่มขึ้นเมื่อ กระป๋องซุปแคมป์เบลล์ (Campbell) และ กล่องบริลโล (Brillo) เริ่มที่จะให้แรงบันดาลใจกับงานศิลปะ ศิลปิน พ็อพ อาร์ต (Pop Art) คือ พวกที่ริเริ่มการหยิบยืมและ แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) คือ เจ้าพ่อคนสำคัญ เช่นเดียวกับการติดปะ “การหยิบยืม” เป็นเพียงเทคนิคหรือวิธีการทำงาน มันเป็นพาหนะสำหรับความคิดเห็นอันหลากหลายต่อสังคมร่วมสมัย ทั้งในแง่เฉลิมฉลองและวิพากษ์วิจารณ์

ตัวอย่างที่ด่นๆมีอาทิ เชอร์รี เลอวีน (Sherrie Levine) ทำการถ่ายภาพภาพถ่ายของ เอ็ดวาร์ด เวสตัน (Edward Weston) และทำการก๊อปปี้ภาพสีน้ำของ เพียท์ มงเดรียน (Piet Mondrian) งานของเธอเป็นการตั้งคำถามต่อความเข้าใจแบบจารีตกับสิ่งที่สถาปนาหรือประกอบกันขึ้นเป็นงานบรมครู (masterpiece) และประวัติศาสตร์ศิลป์ เลอวีน ใช้วิธีการเลือกเอาแต่ศิลปินชาย (เธอเป็นศิลปิน เฟมินิสต์) ศิลปินได้ถามคนดู ได้ให้คนดูพิจารณาถึงตำแหน่งแห่งที่ของศิลปินหญิงใน “คัมภีร์” ประวัติศาสตร์ศิลป์และในกรณีของภาพเปลือยของ เวสตัน เป็นภาพเปลือยของลูกชายตัวเอง เป็นการพิจารณาว่าความเป็นเพศชายของช่างภาพได้ส่งผลต่อการมองภาพหรือไม่

เจฟฟ์ คูนส์ (Jeff Koons) หนึ่งใน “นักยืม” ที่ทำงานแนว 3 มิติ ได้จัดการนำของโหลๆ เช่น ของแถมในกล่องสุราหรือของโหลไร้รสนิยม (kitsch) มาทำใหม่ให้เป็นสแตนเลสหรือเครื่องเคลือบที่มีขนาดใหญ่กว่าของต้นแบบ เดวิด แซลลี (David Salle) และ จูเลียน ชนาเบล (Julian Schnabel) ใช้การหยิบยืมมาสร้างเครือข่ายของภาพลักษณ์จากประวัติศาสตร์ ศิลปะร่วมสมัย และวัฒนธรรมพ็อพ (popular culture) ภาพที่มีระดับชั้นเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ งานของพวกเขาท้าทายการวิเคราะห์ในเชิงเหตุผล

ศิลปิน: ไมค์ บิดโล (Mike Bidlo), เดวิด เดียโอ (David Diao), โคมาร์และเมลามิด (Komar and Melamid), เจฟฟ์ คูนส์ (Jeff Koons), อิกอร์ โคพีสเตียนสกี้ (Igor Kopystiansky), หลุยส์ ลอว์เลอร์ (Louise Lawler), เชอร์รี เลอวีน (Sherrie Levine), คาร์โล มาเรีย มาเรียนี (Carlo Maria Mariani), ซิกมาร์ โพลเก้ (Sigmar Polke), ริชาร์ด ปรินซ์ (Richard Prince), แกร์ฮาร์ด ริชเตอร์ (Gerhard Richter), เดวิด แซลลี (David Salle), จูเลี่ยน ชนาเบล (Julian Schnabel)

Action Actionism
Art Nouveau